主页 > 新闻 > > ประชุมร่วมมรภ.กลุ่มรัตนโกสินทร์ -สสส. และ WHO ประจำประเทศไทย รายงานผลการดำเนินงานสถานการณ์ปลอดภัยทางถนน
ประชุมร่วมมรภ.กลุ่มรัตนโกสินทร์ -สสส. และ WHO ประจำประเทศไทย รายงานผลการดำเนินงานสถานการณ์ปลอดภัยทางถนน

admin student
09 十二月 2024 15:27:51


กองพัฒนานักศึกษา  ร่วมประชุมกับ มรภ.กลุ่มรัตนโกสินทร์ -สสส. และ WHO ประจำประเทศไทย

รายงานผลการดำเนินงานสถานการณ์ปลอดภัยทางถนน
วันที่ 24 ตุลาคม เวลา 9.00 -12.00 น. กองพัฒนานักศึกษา โดย ฝ่ายวินัยและพัฒนานักศึกษา นางสาวอัญชลี กันจู หัวหน้าฝ่ายวินัยและพัฒนานักศึกษา เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม (zoom) ในโครงการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ปลอดภัยทางถนน เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมาร่วมกับ มหาวิทยาลัยกลุ่มรัตนโกสินทร์ 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  ในส่วนของประเทศไทยจึงเกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย สำรวจข้อมูลสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นวาระสำคัญลำดับต้น ๆ ของผู้กำหนดนโยบายระดับประเทศในการลดการเสียชีวิต การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และความปลอดภัยทางถนน

ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้นำเสนอโครงการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ปลอดภัยทางถนนภายในมหาวิทยาลัย ตามพื้นที่ทางกายภาพ จำนวนประชากร จำนวนการใช้งานแยกตามรูปแบบการสัญจร ซึ่งรูปแบบการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย มีทั้งรถจักรยาน  รถจักรยานยนต์ รถไฟฟ้าสำนักงาน และรถยนต์ส่วนบุคคล  และมีพฤติกรรมความเสี่ยง โดยเฉพาะผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น จอดรถไหล่ทาง ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถย้อนศร และมีการนั่งซ้อนรถจักรยานยนต์เกินที่กฎหมายกำหนด  รวมถึง ผู้ใช้ทางสัญจรบนถนน และอื่นๆ  จึงเป็นที่มาของการจัดโครงการรณรงค์ความปลอดภัยบนท้องถนน ภายใต้โครงการ “สร้าง เสริม สุข” มหาวิทยาลัยราชภัฏสู่สุขภาวะ โดยกองพัฒนานักศึกษา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566” เพื่อเริ่มต้นการกำหนดนโยบาย การหาแนวทางการแก้ไข และจัดกิจกรรมสนับสนุนเพิ่มเติมต่อไป”  

สอดคล้องกับ Goal 3: Good Health and Well-being  เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages) มีเป้าหมายย่อยครอบคลุมประเด็นด้านสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีหลายประเด็น เป้าหมายย่อย 3.6 ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนทั่วโลกลงครึ่งหนึ่ง